วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประเภทเพลงสำหรับเด็ก


ประเภทของเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยเพลงเด็กมีหลายประเภทและหลายลักษณะตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน ทั้งที่มีมาแต่เดิมและมีการแต่งขึ้นใหม่สำหรับร้องเล่นทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแบ่งได้ดังนี้เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทร้อยกรองหรือบทกลอนสำหรับกล่อมเด็กส่วนใหญ่มีเนื้อหาบรรยายชีวิต และความเป็นอยู่ที่สะท้อนถึงความเอื้ออาทรรักใคร่ผูกพันที่แม่มีต่อลูก ซึ่งจะพบเนื้อหาของเพลงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น เพลงกล่อมเด็กภาคอีสานว่า "แม่ไปไร่สิหมกไข่มาหา แม่ไปนาสิหาปลามาป้อน" เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง "กาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก" เพลงกล่อมเด็กมักแฝงปรัชญาคำสอนไว้อย่างแยบคาย ให้คนได้คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ต้องให้ความรักเพลงประกอบเด็ก เป็นบทร้องร้อยกรอง / คำคล้องจอง หรือบทปลอบเด็กสำหรับร้องปลอบเด็กร้องไห้โยเยบ่อยให้เงียบ และเกิดความเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น "กุ๊กๆ ไก่ เลี้ยงลูกจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบๆ แม่ก็เรียกไปคุ้ยดิน ทำมาหากิน ตามประสาไก่เอย" เพลงปลอบเด็กนี้ จะต้องไห้เด็กฟังอย่างเดียวหรืออาจทำท่าทางประกอบด้วยก็ได้เพลงเด็กเล่นเป็นบทร้อยกรอง หรือบทร้องเล่นของเด็กที่เป็นบทกลอนสั้นๆทำนองง่าย ให้ได้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนาน หรือร้องล้อเลียนหยอกล้อกันเนื้อความบางส่วนอาจไม่มีความหมาย แต่มุ่งให้จังหวะคล้องจอง และสัมผัสที่ไพเราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ทางภาษามากขึ้น และฝึกนิสัยในการจำ ตัวอย่าง เช่น "ตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ไข่ตกดิน เก็บกินไม่ได้"บทร้องประกอบการเล่น เป็นร้องที่เป็นบทเพลงทำนองบทกลอนสั้นๆที่ร้องประกอบการละเล่น เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้ร้องจะให้จังหวะ ให้ความพร้อมเพรียงในการเล่นเกม เนื้อเพลงบางเพลงยังอธิบายถึงวิธีการเล่นด้วย ตัวอย่างเช่น "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี้ ฉันจะตีก้นเธอ" "โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" การละเล่นนี้ยังมีประโยชน์ในการออกกำลังกาย การเล่นร่วมกันการออกเสียงภาษา การรู้จักช่วยเหลือกัน และเสริมสร้างความรู้สึกสุนทรีย์จากสัมผัสคล้องจองไพเราะด้วยเพลงเด็กแต่งขึ้นใหม่ เป็นบทเพลงที่ใช้ประกอบการสอนเด็กปฐมวัยเป็นเนื้อเรื่องที่มีความหมาย และสามารถทำท่าทางประกอบร้องได้ เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกสนุกสนานและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เพลงดื่มนม เพลงเก็บของเล่น เพลงนิ้วมือจ๋า เพลงแปรงฟัน

ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ





ดนตรีมีประโยชน์มากมาย การฟังดนตรีทำให้เราผ่อนคลาย เพลิดเพลิน มีความสุข หากเราได้เล่นดนตรีก็ยิ่งเป็นการปลดปล่อยความเครียดที่ฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาทให้ออกมากับการเล่นดนตรี ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ EQ สูงขึ้น
และเมื่อเด็กเรียนดนตรี เด็กจะมุ่งความสนใจไปที่เสียงดนตรีที่ตนเองสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และอยากจะเล่นดนตรีต่อไปเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีที่ตนเองสร้างขึ้น ช่วงความสนใจของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นทีละนิด ขี้นอยู่กับทำนองเพลงที่เด็กฝึกหัด เมื่อเริ่มแรกเด็กอาจฝึกหัดเพลงพื้นฐานสั้นๆ ช่วงความสนใจของเด็กอาจอยู่ในเวลา 1-2 นาที ลำดับต่อไปเด็กได้ฝึกเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทีละนิด เด็กก็จะมีช่วงของความสนใจเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 นาที และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเด็กชอบและรักที่จะเล่นดนตรี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจที่ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในดนตรีมากขึ้น การเสริมแรงจากครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เด็กเพิ่มความสนใจในดนตรี และจะทำให้ช่วงความสนใจของเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปสู่การเรียนในห้องเรียน การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ หรือการทำสิ่งต่างๆ
จากที่โรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิมได้สอนเด็กที่มีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น หรือมีช่วงความสนใจต่อสิ่งต่างๆ น้อยมาก เมื่อมาเรียนขิม เด็กหลายคนมีสมาธิดีขึ้น มีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น มีการระบายอารมณ์ออกมาในเสียงเพลงที่ตนบรรเลง ทำให้เด็กผ่อนคลายและเกิดสมาธิในการบรรเลงขิม ส่งผลให้การเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ
คุณพ่อคุณแม่หรือท่านผู้ปกครอง จึงควรหันมามองบุตรหลานของท่านสักนิด ว่าเด็กมีอาการใกล้เคียงเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ หากใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์ หรือส่งเสริมให้เด็กเรียนดนตรี ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำหรือนั่งสมาธิ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโฆษณาที่มีภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปมารวดเร็ว เนื่องจากภาพเหล่านั้นจะไปกระตุ้นสมองทำให้เด็กมีภาวะสมาธิสั้นได้ง่าย
อาการสมาธิสั้นสามารถบำบัดรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่กับเด็ก พูดคุย ซักถาม ให้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับเด็ก ไม่ดุว่าหรือตี เพราะจะทำให้เด็กจดจำประสบการณ์ที่ไม่ดี และเด็กจะไม่เข้าใจว่าเขาทำอะไรผิด เนื่องจากอาการต่างๆ มาจากความผิดปกติของสมองหรือสารเคมีของร่างกาย ซึ่งตัวเด็กเองไม่สามารถควบคุมได้ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่สามารถช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือหายขาดได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ดนตรีสำหรับเด็ก



ครูผู้สอนหลักสูตรดนตรีพื้นฐานสำหรับเด็ก ซึ่งจบการศึกษามาทางดนตรีโดยตรง อธิบายถึงประโยชน์ในการเรียนดนตรีของเด็กเล็กว่า จะช่วยพัฒนาเส้นใยสมองของเด็กให้สมบูรณ์ เพราะการเรียนดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง เปล่งเสียง เล่นเครื่องดนตรีอย่างง่าย จะเป็นการไปกระตุ้นกล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสให้ได้ทำงานอย่างครบวงจร
สมองของเด็กเล็กจะพัฒนาได้ดีตั้งแต่ในครรภ์ จนถึง 5 ขวบ ผู้ปกครองจึงเห็นความสำคัญอยากให้ลูกได้รับการกระตุ้นสมองด้วยการใช้ดนตรีมาช่วย สาเหตุที่ต้องเป็นดนตรี เพราะดนตรีมีคลื่นเสียงที่สามารถกระตุ้นการรับรู้ได้ดี จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้องแม่ก็มักจะหาดนตรีมาให้ลูกฟัง เมื่อลูกได้รับการกระตุ้นสมองก็จะส่งผลให้เด็กรู้จักการเรียงลำดับความคิด มีสมาธิ มีเหตุมีผล และทำให้เรียนหนังสือได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดนตรีช่วยฉลาด


นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน นำโดย นีนา ครอส นักประสาทวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ค้นพบหลักฐานที่หนักแน่นชิ้นแรกที่ยืนยันว่า ดนตรีช่วยให้สมองมีพัฒนาการล้ำหน้าและช่วยให้มีหูเฉียบคมสำหรับรับฟังเสียงทุกชนิด รวมถึงเสียงพูดผลการศึกษาได้มาจากการวัดคลื่นสมองของอาสาสมัครผู้ใหญ่ 20 คน ครึ่งหนึ่งเคยฝึกเล่นดนตรีก่อนอายุ 12 ปี นานอย่างน้อย 6 ปี ที่เหลือฝึกเล่นดนตรีน้อยกว่า 3 ปี ทุกคนพูดอังกฤษเป็นภาษาแม่และไม่รู้จักภาษาจีน โดยให้ทั้งหมดดูหนัง ระหว่างนั้นปล่อยเสียงคำภาษาจีนกลางซึ่งจะเปลี่ยนความหมายไปตามระดับความสูงต่ำของเสียง 3 ระดับ พบว่า ขณะกำลังตั้งใจดูหนัง กลุ่มนักดนตรีได้ยินคำภาษาจีนที่มี 3 ระดับ ได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช่นักดนตรีนีนา กล่าวว่า "ประสบการณ์ทางดนตรีส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือแยกแยะเสียงที่ต้องการรับฟังในห้องเรียนที่จ้อกแจ้ก ถือเป็นเรื่องผิดพลาด ถ้าโรงเรียนไหนงบน้อยแล้วเลือกยกเลิกการสอนดนตรี"
น.ส.เสาวลักษณ์ พ่วงสมบูรณ์ 48/186/1 รหัส 484186128

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลงรีบไปโรงเรียน
หนูหนูเด็กๆทั้งหลายอย่านอนตื่นสายเป็นเด็กเกียจคร้าน
ตื่นเช้าจะได้เบิกบาน สดชื่นสำราญสมองแจ่มใส
อาบน้ำล้างหน้าสีฟัน รีบเร่งเร็วพลันแต่งตัวทันใด
รับประทานอาหารเร็วไวเสร็จแล้วก็รีบไปโรงเรียน
.....................................................
เพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไรกับเพลงนี้ เพราะอะไรถึงคิดอย่างนั้น

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย




ดนตรีช่วยสร้างเสริมพัฒนาการ
ทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
ดนตรีจะช่วยสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ และมโนคติกับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น ธรรมชาติศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา สุขศึกษา ฯลฯ และเป็นการช่วยที่เด็กพอใจ เด็กเข้าใจและจดจำได้เอง โดยไม่ต้องมีการบังคับ เช่น บทเพลงที่เกี่ยวกับลม ฝน แมลง นก ขณะที่เด็กร้องเพลงและทำท่าเคลื่อนไหวเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ อาทิ ลีลาเลียนแบบท่าทางของสัตว์ ท่าทางของคน ลีลาเลียนแบบการเคลื่อนไหวของเครื่องยนต์กลไกและเครื่องเล่น ลีลา เลียนแบบปรากฎการณ์ธรรมชาติ หรือลีลาตามจินตนการ ซึ่งเด็กจะมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้น หรือในขณะที่เด็กร้องเพลงนับกระต่าย นับลูกแมว นับนิ้ว เด็กก็จะได้รับความคิดในเรื่องการเพิ่ม - ลดของจำนวน การเรียงลำดับที่ ฯลฯ ซึ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยจะเจริญงอกงามโดยอาศัยกิจกรรม
ต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางดนตรีนับเป็นกิจกรรมที่มี ความสำคัญยิ่ง
ดนตรีเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย เพราะดนตรีเป็นสิ่งเร่งที่จะช่วยจูงใจให้เด็กเกิดความสบายใจ และมีความรู้สึกในทางที่ดี ซึ่งเป็นการช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความน่าสนใจ ทำให้เด็กเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้ อันส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นอย่างดี
ประการสำคัญ ดนตรีจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดเสียมิได้ต่อการพัฒนาทางสติปัญญา โดยเฉพาะด้านสมาธิ เนื่องจากดนตรีช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการทำกิจกรรมและสามารถทำงานได้นานขึ้น ทั้งนี้เพราะเสียงดนตรี นับเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่จะช่วยปรับสภาพอารมณ์และช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดสมาธิ สามารถสร้างระเบียบและควบคุมตนเองให้เหมาะสมและไม่เกิดความเครียดจนต้องหยุดชะงักการทำงาน ในขณะที่เด็กทำกิจกรรมสร้าง สรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมกลางแจ้ง เมื่อมีดนตรีเปิดเบา ๆ เด็กจะมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศที่มีเสียงเพลง และมีความตั้งใจพยายามทำกิจกรรม อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทจะยาวนานขึ้น นอกจากนี้เสียงดนตรียิ่งทำให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในขณะทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยดังนี้
จากการทดลองของ เลิศ อานันทนะ ( 2518 : 219) พบว่า เสียงดนตรีสามรถเสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อมือ ให้สอดคล้องกับการใช้ความคิด
ฉะนั้น ดนตรีจึงเป็นสื่อกลางของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาศักยภาพ คุณค่าทางสมองและสติปัญญา เพราะดนตรีเป็นเรื่องของโสตศิลป์ที่จะพาเด็กไปสู่การรับรู้และเรียนรู้เรื่องของศาสตร์วิทยาการ ต่าง ๆ ตลอดจนความงามอย่างมีสุนทรีย์ ในที่สุดเด็กก็มีการพัฒนาการทางสติปัญญาสูงขึ้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพนั่นเอง




เสาวลักษณ์ แสงหิรัญ 484186129 48/186/1

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

พัฒนาสมองลูกในท้องด้วยดนตรี


ดนตรีมีความผูกพันกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แรก เกิด เมื่อแม่ร้องเพลงกล่อมลูก ครั้นเติบโตขึ้นกิจกรรมต่างๆ เช่นการทำงาน การกีฬา พิธีกรรม ล้วนมีความสัมพันธ์กับดนตรีทั้งสิ้น กระทั่งสุดท้ายแห่งชีวิต ดนตรีก็ยังเข้ามามีบทบาท ดังนั้นดนตรีกับชีวิตมนุษย์จึงเป็นสิ่งผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นและเอื้อ ประโยชน์ต่อกันค่ะดนตรีเพื่อพัฒนาสมอง ก็คือการใช้ดนตรีเป็นสื่อในการทำให้สมองพัฒนาและทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสมองเปรียบเสมือนศูนย์กลางแห่งชีวิต เมื่อพัฒนาสมองอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยความรู้และเข้าใจทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และสุนทรียศาสตร์ ก็ย่อมจะทำให้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีชีวิตที่มีคุณภาพและมีชีวิตที่ดีขึ้นและเนื่องจากชีวิตของมนุษย์ประกอบด้วยกายและใจ ซึ่งส่วนประกอบทั้งสองต้องอยู่ในสภาพสมดุล นั่นคือสุขภาพกายต้องสมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพใจต้องแจ่มใสสดชื่นแข็งแรง ชีวิตจึงจะมีความสุขและดำเนินไปได้อย่างราบรื่นแต่ด้วยสภาวะแวดล้อมทางสังคม ทัศนคติที่มีต่อการเลี้ยงดูลูกในแนวเน้นให้ลูกเป็นคนเก่งโดยเฉพาะทางวิชาการ ไม่สำคัญเท่ากับการเป็นเด็กดีและมีความสุขค่ะ คิดแต่เพียงว่าวิชาการเท่านั้นจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ การมองโลกในแง่ลบ การแข่งขัน การแย่งชิง และความเห็นแก่ตัวเอง เพื่อให้อยู่ในโลกที่ซับซ้อนในยุคของการมุ่งเน้นแต่ความเจริญทางวัตถุ ความสำเร็จในชีวิตวัดได้จากจำนวนปริมาณและการตีค่าของวัตถุ ส่งผลให้เกิดมลพิษต่อสภาวะแวดล้อมรอบตัวในสังคม เกิดมลพิษต่อชีวิตมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีแต่ความเครียด และการแก่งแย่งชิงดีกันเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินชีวิตตั้งแต่แรกเกิดเป็นไปในทางก่อ เกิดปัญหา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตของมนุษย์แต่นับเป็นเรื่องดีค่ะที่มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องสมองกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เข้าใจความลึกลับซับซ้อน ตลอดจนความสำคัญของสมอง ซึ่งทุกคนมีในขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน แต่จำนวนของเซลล์สมองอาจไม่เท่ากัน ทำให้ได้เข้าใจในลักษณะของสรีระภายใน และการทำหน้าที่ควบคุมทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้อย่างสมดุล อันนำไปสู่การมองเห็นหนทางในการแก้ปัญหาของโลกและสังคมโดยรวมจากการศึกษาทำให้เรารู้ว่า เซลล์สมองของมนุษย์เริ่มพัฒนาและเพิ่มจำนวน ตั้งแต่แรกปฏิสนธิจนกระทั่งก่อนคลอด ซึ่งมีจำนวนของเซลล์สมองหรือ Neuron ประมาณร้อยล้านล้านเซลล์ทีเดียวค่ะ โดยเซลล์สมองจะมี 3 ส่วนคือ dendrite ซึ่งเหมือนนิ้วมือยื่นออกไปเพื่อรับกระแสประสาท axon ส่วนของเซลล์ที่ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทออกไปติดต่อเซลล์อื่นและ nucleus ของเซลล์สมอง เซลล์สมองของมนุษย์มีจำนวนใกล้เคียงกัน ไม่มีการเกิดขึ้นใหม่ ดังนั้นจำนวนของเซลล์สมองจึงมีแต่จะลดจำนวนลง ถ้าเกิดการตายหรือการสูญเสียของเซลล์สมองขึ้นส่วนการพัฒนาคุณภาพของสมองนั้น ที่ดีที่สุดคือการเพิ่มจำนวนกิ่งก้านสาขาของ dendrite ให้มาก เนื่องจาก dendrite ทำให้เกิด Brain Connections ซึ่งการเชื่อมติดต่อกันของเซลล์สมองยิ่งมีจำนวนมากเท่าไร คุณภาพของสมองจะดีขึ้นเท่านั้นค่ะ โดยเซลล์สมอง 1 ตัว สามารถเกิด Brain Connections ได้ถึง 25,000 จุด มนุษย์สามารถสร้าง dendrite ได้ตลอดชีวิต หากมีปัจจัยสำคัญต่างๆ ครบถ้วนสำหรับการพัฒนาสมอง ดังนั้นความรู้ใหม่ส่วนนี้จึงเป็นแนวทางที่สามารถจะพัฒนาคุณภาพทางสมองได้ โดยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมในทุกช่วงของชีวิตได้งานวิจัยเกี่ยวกับ Aecellerate Learning ค้นพบว่า ดนตรีที่มีคุณภาพทั้งเสียงร้อง ทำนอง จังหวะ และความถี่ของเสียงจะช่วยกระตุ้นให้สมองของมนุษย์พัฒนาและทำงานได้ดี เนื่องจากทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของ dendrite ซึ่งเป็นส่วนของ Neuron ในการรับกระแสประสาท ยิ่งจำนวน dendrite มีมากเท่าใด การเกิด Brain Connections คือการเชื่อมโยงของเซลล์สมองต่างๆเป็นเครื่อข่าย (network) ก็จะก่อให้เกิดการทำงานที่สมบูรณ์ แข็งแรง และทรงพลานุภาพดนตรีที่เลือกสรรแล้วว่ามีคุณภาพทั้งเสียงร้อง ทำนอง จังหวะ และความถี่ของเสียงซึ่งมีผลงานวิจัยและเสนอผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องใน มหาวิทยาลัย John Hopkins โดยมี Kenedy Kreger center ซึ่งเป็นศูนย์ทดลองวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องสมองและการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับดนตรี ซึ่งมีข้อสรุปของผลงานวิจัยโดยผู้เขียนนำเสนอตามลำดับช่วงชีวิตของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ทารกในครรภ์ (Prenatal) วัยทารก (Neonatal) จนถึงวัยเตาะแตะ (0-3) จากช่วงอายุ 4-8 ปี, ช่วงวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และวัยชรา และการนำดนตรีเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการ เรียนรู้สำหรับเด็กปกติ และเด็กที่มีความต้องการเป็นพิเศษเป็นตอนๆ ไปตามลำดับหัวใจหลักก็คือคุณภาพของดนตรีที่เลือกสรรแล้ว จะกระตุ้นสมองของมนุษย์ในการหลั่งสารแห่งความสุข หรือ Endorphin เพิ่ม มากขึ้นค่ะ ทำให้การทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบการย่อยอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์และระบบประสาท ทำงานได้ดีขึ้น ทำให้สมองได้รับออกซิเจนและอาหารอย่างเต็มที่ ดนตรีช่วยเพิ่มความจำ เพิ่มสติปัญญาและก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นอกจากนั้นดนตรียังสามารถช่วยให้สุขภาพของร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ขึ้นอีก ด้วยค่ะส่วนเรื่องดนตรีเพื่อพัฒนาสมองสำหรับทารกในครรภ์นั้น เมื่อเกิดการปฏิสนธิในครรภ์มารดา ระบบประสาทส่วนกลาง คือสมองและไขสันหลังจะเริ่มพัฒนาก่อนระบบอื่นๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ต่อจากนั้นอวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายด้านอื่นๆ จึงเริ่มพัฒนาต่อไป ทารกในครรภ์มารดาเริ่มได้ยินเสียงแล้วเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน เสียงของการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของมารดา เช่น หัวใจ ปอด การเผาผลาญอาหารและลำไส้ เสียงเหล่านี้เปรียบเหมือนวงดนตรีวงใหญ่ที่บรรเลงดนตรีกึกก้องในครรภ์มารดา และเป็นบทเพลงบทแรกๆ ของชีวิตทารกที่ได้ยินค่ะมีการทดลองโดยนำดนตรี 2 ประเภทมาให้ทารกในครภ์มารดาฟัง โดยแนบแถบบันทึกเสียงไว้กับท้องของมารดา ดนตรีประเภทแรกเป็นดนตรีคลาสสิก (Classic) บรรเลงโดยวงออเคสตร้าทั้งวง มีจังหวะความเร็วประมาณ 90-100 ครั้งต่อนาที ซึ่งมีจังหวะความเร็วใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจทารก และความดังของเสียงไม่เกิน 60 เดซิเบล แล้วสังเกตปฏิกิริยาของทารกจากเครื่องอัลตราซาวนด์ พบว่าทารกจะขยับแขนขาไปมามีจังหวะ พร้อมไปกับจังหวะเพลงและค่อยๆ สงบลงและดนตรีชนิดที่สองคือดนตรีประเภทฮาร์ดร็อก (Hardrock) ทำนองและความเร็วไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็วเดี๋ยวช้า ความดังของเสียงเกิน 80 เดซิเบลขึ้นไป มีเสียงกลองตีรัวดังๆ พบว่าทารกจะขยับแขนขาอย่างไม่เป็นจังหวะ มีอาการดิ้นทุรนทุราย และไม่เกิดความสงบ ดังนั้น เสียงต่างๆ โดยเฉพาะดนตรีที่มีเสียงสูงต่ำ ดังเบา เร็วช้า เป็นต้น มีอิทธิพต่ออารมณ์ของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งลืมตาออกมาดูโลกในขณะเดียวกัน คุณแม่จะได้รับอิทธิพลของดนตรีที่ฟังด้วย การที่ได้ฟังดนตรีที่มีจังหวะความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของจังหวะการเต้น ของหัวใจ จะทำให้อารมณ์ของคุณแม่สงบเยือกเย็น ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ มีสาร Endorphin หลั่งในกระแสโลหิต ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นด้วยค่ะ



น.ส.เสาวลักษณ์ พ่วงสมบูรณ์ 48/186/1 รหัส 484186128